งานชิ้นที่ 6

บันทึกสังเกตการสอน
ครั้งที่ 1
ชื่อผู้สอน  นางสาวสุนันทา  ศรีทอง               ชั้น  ม.3/2
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  พื้นที่ผิวและปริมาตร   เรื่อง  รูปเรขาคณิต              จำนวน  คาบ
วันที่  22  เดือน  พฤษภาคม  ..  2555
ประเด็นที่สังเกต
                1.  การนำเข้าสู่บทเรียน
                ครูสุ่มเรียกนักเรียนให้ยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราที่มีลักษณะเป็นปริซึม  พีระมิด  ทรงกระบอก  และกรวย  หลังจากนั้นครูนำทรงกลมมาแสดงให้นักเรียนดูทีละกล่อง  แล้วสุ่มให้นักเรียนออกมาถือคนละกล่องตามจำนวนที่ครูเตรียมมา  จากนั้นให้นักเรียนอาสาสมัครออกมาหมุนกล่องทรงกลมให้เพื่อนๆ ดู
                2.  การดำเนินการสอน
                ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ  คน  ให้นักเรียนทำใบกิจกรรมที่  1.4  เพื่ออธิบายลักษณะของทรงกลมที่กำหนดให้  พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ  แล้วช่วยกันเฉลยคำตอบ  ตรวจสอบความถูกต้อง  นักเรียนทุกคนร่วมกันพิจารณา  สังเกต  วิเคราะห์  และอภิปรายผล
                3.  การใช้สื่อการสอน
                มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนซึ่งได้แก่  กล่องกระดาษรูปทรงกลม  ลูกเทนนิส  ลูกบอล  และมีใบกิจกรรมที่ 1.4
                4.  การใช้และเขียนกระดานดำ
                มีความเป็นระเบียบและถูกต้อง  อักษรเขียนชัดเจน
                5.  การใช้ภาษาและคำถาม
                ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  ใช้คำถามที่นักเรียนเข้าใจได้ง่าย
                6.   การสรุปบทเรียน
                การสรุปบทเรียนมีความครอบคลุมเนื้อหาที่สอดและสรุปรวบยอดให้เข้าใจได้ง่าย
                7.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
                นักเรียนให้ความสนใจเรียนดี  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
                8.  จุดเด่นของการสอน
                การใช้สื่อในการสอน  เพราะจะทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น  และสามารถบอกลักษณะและสมบัติของทรงกลมได้
                9.  จุดที่ควรปรับปรุง
                ใบกิจกรรมมีน้อย  และเวลาที่ให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายลักษณะและสมบัติของทรงกลมคนละอย่าง  อาจจะซ้ำกันได้
                10.  ข้อเสนอแนะที่มีต่อผู้สอนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
                ควรเพิ่มคำถามในใบกิจกรรมให้มากขึ้น
******************************************************************************
                                                                               
บันทึกสังเกตการสอน
ครั้งที่ 2
ชื่อผู้สอน  นางสาวปิยวรรณ  ทองจีน             ชั้น  ม.1/5
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  ระบบจำนวนเต็ม          เรื่อง  จำนวนเต็ม                                จำนวน  คาบ
วันที่  13  เดือน  มิถุนายน  ..  2555
ประเด็นที่สังเกต
                1.  การนำเข้าสู่บทเรียน
                ครูสนทนาพูดคุยและให้นักเรียนยกตัวอย่างจำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  และจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเต็มเช่น  จำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0, 1, 2, 3, …
         จำนวนที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  , 0.5, 0.89, …   
                2.  การดำเนินการสอน
                ครูให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายถึงจำนวนเต็มที่นักเรียนรู้จักว่ามีกี่ประเภทอะไรบ้าง  ครูใช้เส้นจำนวน  เพื่ออธิบายให้นักเรียนเข้าใจจำนวนเต็มมากยิ่งขึ้น  ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับจำนวนเต็ม
                3.  การใช้สื่อการสอน
                มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนซึ่งได้แก่  เส้นจำนวน  และใบกิจกรรม
                4.  การใช้และเขียนกระดานดำ
                มีการใช้อย่างถูกต้อง และอักษรที่เขียนชัดเจนและอ่านง่าย
                5.  การใช้ภาษาและคำถาม
                ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  ใช้คำถามที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน
                6.   การสรุปบทเรียน
                มีการให้นักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจความเข้าใจของนักเรียน
                7.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
                นักเรียนให้ความสนใจเรียนดี  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
                8.  จุดเด่นของการสอน
                การใช้สื่อในการสอน  เพราะจะทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น 
                9.  จุดที่ควรปรับปรุง
                      -
                10.  ข้อเสนอแนะที่มีต่อผู้สอนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
                       -
******************************************************************************

                                                                                บันทึกสังเกตการสอน
ครั้งที่ 3
ชื่อผู้สอน  นางสาวปิยวรรณ  ทองจีน             ชั้น  ม.1/4
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  ระบบจำนวนเต็ม  เรื่อง  การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ  จำนวน  คาบ
วันที่  21  เดือน  มิถุนายน  ..  2555
ประเด็นที่สังเกต
                1.  การนำเข้าสู่บทเรียน
                ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวกโดยใช้เส้นจำนวน  เช่น  ให้นักเรียนแสดงผลลัพธ์ของ  5+3  = 8  บนเส้นจำนวน
                2.  การดำเนินการสอน
                ครูตั้งโจทย์และให้นักเรียนอาสาออกมา  คน  เพื่อแสดงวิธีหาผลลัพธ์ของการบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ  คน  เพื่อช่วยกันทำใบกิจกรรมที่  2
                3.  การใช้สื่อการสอน
                มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนซึ่งได้แก่  เส้นจำนวน  และใบกิจกรรม
                4.  การใช้และเขียนกระดานดำ
                มีการใช้อย่างถูกต้อง และอักษรที่เขียนชัดเจนและอ่านง่าย
                5.  การใช้ภาษาและคำถาม
                ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  ใช้คำถามที่นักเรียนเข้าใจง่าย
               
                6.   การสรุปบทเรียน
                มีการให้นักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
                7.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
                นักเรียนให้ความสนใจเรียนดี  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
                8.  จุดเด่นของการสอน
                การใช้สื่อในการสอน  เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของนักเรียน         
                9.  จุดที่ควรปรับปรุง
                      -
                10.  ข้อเสนอแนะที่มีต่อผู้สอนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
                ควรเพิ่มตัวอย่างให้มากขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เห็นตัวอย่างที่หลากหลาย
******************************************************************************

                                                                                บันทึกสังเกตการสอน
ครั้งที่ 4
ชื่อผู้สอน  นางนัชพร  กำเนิดรักษา                ชั้น  ม.2/2
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  แผนภูมิรูปวงกลม  เรื่อง  การเขียนแผนภูมิรูปวงกลม          จำนวน  คาบ
วันที่  24  เดือน  สิงหาคม  ..  2555
ประเด็นที่สังเกต
                1.  การนำเข้าสู่บทเรียน
                ครูทบทวนความรู้เรื่องการเขียนแผนภูมิรูปวงกลมในคาบที่แล้ว
                2.  การดำเนินการสอน
                ให้นักเรียนดูตัวอย่างการเขียนแผนภูมิรูปวงกลม  มีการสุ่มนักเรียนเพื่อถามความเข้าใจ  ให้นักเรียนทำใบกิจกรรมเรื่องแผนภูมิรูปวงกลม
                3.  การใช้สื่อการสอน
                มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนซึ่งได้แก่  ใบกิจกรรมแผนภูมิรูปวงกลม
                4.  การใช้และเขียนกระดานดำ
                มีการใช้อย่างถูกต้อง และอักษรที่เขียนชัดเจนและอ่านง่าย
                5.  การใช้ภาษาและคำถาม
                ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  ใช้คำถามที่นักเรียนเข้าใจง่าย
                6.   การสรุปบทเรียน
                มีการให้นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้เรื่องการเขียนแผนภูมิรูปวงกลม
                7.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
                นักเรียนให้ความร่วมมือดี  และมีการตอบคำถามทุกครั้งที่ถาม
                8.  จุดเด่นของการสอน
                มีการพูดเสียงดังฟังชัด  เพื่อลดการคุยของนักเรียน   
                9.  จุดที่ควรปรับปรุง
                      -
                10.  ข้อเสนอแนะที่มีต่อผู้สอนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
                     -
******************************************************************************

                                                                                บันทึกสังเกตการสอน
ครั้งที่ 5
ชื่อผู้สอน  นางนัชพร  กำเนิดรักษา                ชั้น  ม.2/2
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  การแปลงทางเรขาคณิต  เรื่อง  การสะท้อน             จำนวน  คาบ
วันที่  31  เดือน  สิงหาคม  ..  2555
ประเด็นที่สังเกต
                1.  การนำเข้าสู่บทเรียน
                ครูทบทวนความรู้เรื่องการเลื่อนขนานที่นักเรียนได้เรียนในคาบที่แล้ว
                2.  การดำเนินการสอน
                อธิบายความหมายของการสะท้อน  ให้นักเรียนดูตัวอย่างภาพที่ได้จากการสะท้อน  มีการอธิบายตัวอย่างการสะท้อนของรูปสามเลี่ยม  และให้นักเรียนทำใบกิจกรรมเรื่องการสะท้อน
                3.  การใช้สื่อการสอน
                มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนซึ่งได้แก่  ใบกิจกรรม
                4.  การใช้และเขียนกระดานดำ
                มีการใช้อย่างถูกต้อง และอักษรที่เขียนชัดเจนและอ่านง่าย
                5.  การใช้ภาษาและคำถาม
                ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  และใช้คำถามที่นักเรียนเข้าใจง่าย
                6.   การสรุปบทเรียน
                ให้นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้เรื่องการสะท้อน
                7.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
                นักเรียนให้ความร่วมมือดี  และตอบคำถามทุกครั้งที่ครูถาม
                8.  จุดเด่นของการสอน
                มีการพูดเสียงดัง  และมีสื่อการสอน
                9.  จุดที่ควรปรับปรุง
                      -
                10.  ข้อเสนอแนะที่มีต่อผู้สอนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
                     -
******************************************************************************

การจัดป้ายนิเทศกลุ่มสาระคณิตศาสตร์
เรื่อง  พื้นที่ผิวและปริมาตร
ขั้นตอน
1.             วางแผนการจัดป้ายนิเทศและกำหนดเรื่องที่จะจัด
2.             ค้นหารูปทรงต่างๆ  จากอินเทอร์เน็ต
3.             จัดรูปแบบของป้ายนิเทศ
4.             ลงมือจัดป้ายนิเทศตามเนื้อหาที่วางไว้
ความคิดเห็น  การจัดป้ายนิเทศในครั้งนี้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้เป็นอย่างดี  เพราะในการจัดป้ายนิเทศจะมีรูปภาพประกอบ  ซึ่งสื่อที่เป็นรูปภาพจะช่วยให้นักเรียนจดจำได้ดีมากขึ้น
 ข้อเสนอแนะ  การจัดรูปแบบของป้ายนิเทศมีความเหมาะสม  แต่สีสันที่ใช้กับรูปยังไม่โดดเด่นมากพอ                                              
  

ภาพการจัดป้ายนิเทศกลุ่มสาระคณิตศาสตร์













******************************************************************************

การจัดป้ายนิเทศในวันแม่แห่งชาติ
ขั้นตอน
1.             วางแผนการจัดป้ายนิเทศเพื่อเตรียมจัดอุปกรณ์
2.             เตรียมอุปกรณ์ในการจัดป้ายนิเทศเนื่องในวันแม่แห่งชาติ
3.             จัดรูปแบบของป้ายนิเทศ
4.             ลงมือจัดป้ายนิเทศตามเนื้อหาที่วางไว้
ความคิดเห็น  :  การจัดป้ายนิเทศในครั้งนี้ เป็นการศึกษาพระราชกรณียกิจและประวัติการครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินาถ   ซึ่งเมื่อนักเรียนมาศึกษาป้ายนิเทศจะทำให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องราวต่างๆ ได้ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะ ควรจัดป้ายนิเทศทุกครั้งที่มีวันสำคัญ  เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ในวันสำคัญนั้นๆ

ภาพการจัดป้ายนิเทศในวันแม่แห่งชาติ




                ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2555

งานชิ้นที่  6
งานประกอบการจัดการเรียนรู้

การจัดป้ายนิเทศในวันพ่อแห่งชาติ
ขั้นตอน
1.             วางแผนการจัดป้ายนิเทศเพื่อเตรียมจัดอุปกรณ์
2.             เตรียมอุปกรณ์ในการจัดป้ายนิเทศเนื่องในวันแม่แห่งชาติ
3.             จัดรูปแบบของป้ายนิเทศ
4.             ลงมือจัดป้ายนิเทศตามเนื้อหาที่วางไว้
ความคิดเห็น  :
การจัดป้ายนิเทศในครั้งนี้ เป็นการศึกษาพระราชกรณียกิจและประวัติการครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ซึ่งเมื่อนักเรียนมาศึกษาป้ายนิเทศจะทำให้นักเรียนมีความรู้ในการเรื่องราวต่างๆ  ได้ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะ ควรจัดป้ายนิเทศทุกครั้งที่มีวันสำคัญ  เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ในวันสำคัญนั้นๆ
ภาพการจัดป้ายนิเทศ

การคุมสอบกลางภาค
ข้อเสนอแนะ :  การคุมสอบนักเรียนแต่ละครั้งทำให้เราทราบกติกาของการคุมสอบมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นประสบการณ์อันดียิ่งที่จะนำไปใช้ต่อไป
การผลิตสื่อการสอน
ขั้นตอน
1.             วางแผนในการผลิตสื่อการสอน
2.             เตรียมอุปกรณ์ในการผลิตสื่อเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
 3.            ลงมือผลิตสื่อการสอน
4.            นำสื่อที่ผลิตไปใช้กับนักเรียน
ความคิดเห็น  :
                ใน การผลิตสื่อการสอนจะช่วยให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น  เนื่องจากนักเรียนได้เห็นของจริงและสามารถมองเห็นในหลายแง่มุม  ซึ่งต่างจากการที่นักเรียนนั่งเรียนในห้องแต่ไม่ได้สัมผัสกับของจริงทำให้ นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย  ปัจจุบันสื่อจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียน
ข้อเสนอแนะ บทเรียนต่างๆ  ถ้านำสื่อการสอนมาใช้จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

ภาพการผลิตสื่อ




               
               



                                                                               
                                                                                               
               

               
               

                                                               
               
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น