งานชิ้นที่ 5

รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาพฤติกรรมการไม่ส่งงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5
โดยการใช้    เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน













นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนาพฤติกรรมการไม่ส่งงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5  โดยการใช้                                        “ เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
ชื่อผู้วิจัย                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
                การปฏิรูปการศึกษาได้กำหนดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนทุกคนจะต้องมีวินัยในตนเอง  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สนใจเอาใจใส่ต่อการเรียนอย่างสม่ำเสมอ  จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียน  ในฐานะครูที่ปรึกษา พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5  จำนวน 7 คน  ขาดความรับผิดชอบต่อการส่งงานไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร  และเข้าห้องเรียนช้าเป็นประจำ  ผู้วิจัยจึงได้ขอขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ นักเรียนในห้องโดยใช้  เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน   เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพฤติกรรมการเรียนให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย       
                เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการไม่ส่งงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/จำนวน 7 คน  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนได้มีการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนดีขึ้นในเรื่องของความรับผิดชอบในการส่งงานรวมทั้งการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา  ความสนใจและเอาใจใส่ต่อการเรียน  และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
วิธีการดำเนินวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                        กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5  ภาคเรียนที่  1
  ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน คน
                เครื่องมือในการวิจัย
                        1.  แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนโดยคุณครูผู้สอน
2. แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนโดยกลุ่มเพื่อนพี่เลี้ยง 7  คน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                1.  จากการประเมินผลพฤติกรรมการเรียนนักเรียนโดยคุณครูผู้สอน
                                2.  จากผลการบันทึกพฤติกรรมการเรียนนักเรียนโดยกลุ่มเพื่อนพี่เลี้ยง 7  คน
ผลการวิจัย
                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5   ทั้ง 7 คน  มีพฤติกรรมการเรียนดีขึ้นในเรื่องของความรับผิดชอบในการส่งงานรวมทั้งการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา  ความสนใจและเอาใจใส่ต่อการเรียน  และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
                ควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนด้วย
 _____________________________________________________________________________


รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การปรับพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5 ,  2/6 ,  2/7
ที่ชอบนั่งวาดรูปในเวลาเรียน  โดยวิธีการให้นักเรียนทำชิ้นงานพร้อมตกแต่ง













นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12

ชื่อเรื่อง                 การปรับพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5 ,  2/6 ,  2/7  ที่ชอบนั่งวาดรูปใน                                เวลาเรียนโดยวิธีการให้นักเรียนทำชิ้นงานพร้อมตกแต่ง
ชื่อผู้วิจัย                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
            จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5 ,  2/6 ,  2/7  หลังจากเรียนมาได้ประมาณ  สัปดาห์  พบว่าในขณะที่กำลังสอนพบนักเรียนกำลังนั่งวาดรูปเล่นในกระดาษ  ทำให้ตามเนื้อหาที่กำลังสอนไม่ทัน  ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่สอน  ข้าพเจ้าได้คิดหาวิธีการปรับพฤติกรรมของนักเรียนโดยวิธีการให้นักเรียนทำชิ้นงานส่งพร้อมทั้งให้นักเรียนตกแต่งให้สวยงามเก็บเป็นคะแนนรายจุดประสงค์  ด้วยวิธีการนี้ทำให้นักเรียนสนใจในการเรียนมากขึ้น  เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย       
        เพื่อปรับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5 ,  2/6 ,  2/7   โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้นกว่าเดิม
วิธีการดำเนินวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                        กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5,  2/6 ,  2/7  ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  80  คน
                เครื่องมือในการวิจัย
                                        1.  แบบบันทึกคะแนน
                                        2.  ชิ้นงาน
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                        1.  มอบหมายชิ้นงานให้นักเรียน  พร้อมกับให้นักเรียนตกแต่งให้สวยงาม
                              2.  ตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงาน  ความสวยงาม
                                        3.  ผลงานที่ตรวจสอบเสร็จแล้วมาเก็บคะแนน
ผลการวิจัย
                        นักเรียนโดยภาพรวมตกแต่งชิ้นงานสวยงามและไม่วาดรูปในเวลาเรียน
ข้อเสนอแนะ
การจัดการเรียนการสอนควรแก้ปัญหา  พัฒนาทุกเรื่อง  จึงจะได้ชื่อว่า  เป็นครูนักวิจัย
__________________________________________________________________________
 
รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7











นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12




ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน   ของนักเรียนชั้น                     
                            มัธยมศึกษาปีที่  2/
ชื่อผู้วิจัย             นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
                จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 (ค 22101)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องคำนวณ  นักเรียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย  ข้าพเจ้าได้สังเกตการเรียนการสอน  พบว่า   จากการที่ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนในชั้นเรียน   หลังจากการสอนครูได้ประเมินผล  โดยการมอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด ใบกิจกรรม  และแบบทดสอบ  พบว่านักเรียนบางคนไม่สามารถทำแบบฝึกหัด  ทำใบกิจกรรม  และทำข้อสอบได้ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด  ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น  เกิดจากการที่นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า  และมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน  ข้าพเจ้าจึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจ  และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น   กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น  เป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนวิธีการดังกล่าวได้ทางหนึ่ง  โดยให้เพื่อนได้มีบทบาทสำคัญในการเรียน  เพื่อนและกลุ่มมีอิทธิพลในการสร้างความสนใจ  จูงใจ  และการยอมรับของเพื่อนด้วยกัน   ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน  จะใช้วิธีเฟ้นหาเพื่อนที่เก่งช่วยเพื่อนที่เรียนอ่อนทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น  โดยกำหนดให้มีนักเรียนที่เก่งเป็นแกนนำของกลุ่ม  คอยช่วยเหลือ  แนะนำ  
 อธิบายหัวข้อต่างๆ  ที่เพื่อนในกลุ่มไม่เข้าใจ  คอยติดตามช่วยเหลือจนเข้าใจในเรื่องนั้นๆ  ความสนิทสนม  และใกล้ชิดของกลุ่มทำให้ผู้มีปัญหามีความรู้สึกเกิดการยอมรับ  อยากพัฒนาเอง  จนส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น
 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
          เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7   
โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  
วิธีดำเนินการวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย                       กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555โรงเรียนทุ่งสงวิทยา   อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  26  คน
                เครื่องมือในการวิจัย
                       1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
                       2. แบบบันทึกคะแนน
                       3. สมุดแบบฝึกหัดและใบกิจกรรมของนักเรียน
               

                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                      1. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะเฟ้นหานักเรียนที่เก่ง  และมีความรับผิดชอบ  มีลักษณะเป็นผู้นำมอบหมายให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม
                      2. ครูผู้สอนชี้แจงการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยหลังจากครูสอนในแต่ละครั้งก็จะมอบหมายให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด  โดยนักเรียนนั่งทำแบบฝึกหัดระดมสมองช่วยกันคิด  หากหัวข้อใดสมาชิกในกลุ่มไม่เข้าใจ ผู้ที่เข้าใจก็จะช่วยกันอธิบายจนเพื่อนเข้าใจ  หากสมาชิกในกลุ่มยังไม่เข้าใจก็จะปรึกษาครูผู้สอน
                     3. ครูสังเกตการทำกิจกรรมของกลุ่ม  การช่วยกันแก้ปัญหา  ความสนใจ  และความตั้งใจของสมาชิกในกลุ่ม
                     4. สังเกตผลการทำแบบฝึกหัดว่าดีขึ้นหรือไม่
                     5. สังเกตการประเมินตามสภาพจริงในแต่ละครั้ง
                     6. วัดผลการเรียนเมื่อสิ้นบทเรียน
ผลการวิจัย
            ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3  (ค 22101)   ปรากฎว่า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน  และกิจกรรมกลุ่มทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี ช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นสนใจ  ตั้งใจ  และมีความรับผิดชอบมากขึ้น  อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา  ช่วยสร้างความสามัคคี  รู้จักแก้ปัญหาร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ
              1. ครูผู้สอนจะต้องคอยติดตามดูแล การปฏิบัติงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 
              2. ควรเฟ้นหาหัวหน้ากลุ่มที่เก่ง  และมีคุณภาพจริงๆ
              3. ครูผู้สอนจะต้องคอยให้แรงเสริมแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง
             4. ครูผู้สอนควรแจ้งผลการประเมินทุกครั้งเพื่อกลุ่มจะได้ปรับปรุงและพัฒนาตัวเองในจุดที่ยัง
ด้อยอยู่
____________________________________________________________________


รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การแก้ปัญหาการเขียนหนังสือไม่สวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5 
โดยใช้วิธีการฝึกเขียน








นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12




ชื่อเรื่อง                 การแก้ปัญหาาการเขียนหนังสือไม่สวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5 
                                โดยใช้วิธีการฝึกเขียน
ชื่อผู้วิจัย                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
            จากการที่ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5  ทำแบบฝึกหัดส่ง  พบว่า  ลายมือของนักเรียนอ่านยาก  ไม่เป็นตัว  ทำให้การตรวจงานเป็นไปได้ยากและต้องใช้เวลาในการตรวจเป็นอย่างมาก  ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้นักเรียนอ่านสมุดของตนเองไม่ออกส่งผลต่อคะแนนการสอบรายจุดประสงค์ 
 ข้าพเจ้าได้คิดหาวิธีการช่วยให้นักเรียนพัฒนาการเขียนของตนเอง  โดยวิธีการให้นักเรียนฝึกคัดลายมือของตนเองในสัปดาห์แรก  เพื่อจะช่วยให้นักเรียนมีลายมือที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
              เพื่อแก้ปัญหาาการเขียนหนังสือไม่สวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา 
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนมีลายมือที่ดีขึ้นกว่าเดิม

วิธีการดำเนินวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5 ภาคเรียนที่                          ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  27  คน
                เครื่องมือในการวิจัย
                                        1.  แบบบันทึกคะแนน
                                        2.  สมุดแบบฝึกหัด  (แบบคัดลายมือ)
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                        1.  แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม  โดยให้นักเรียนที่มีลายมือที่พออ่านได้เป็นพี่เลี้ยง
        2.  ก่อนเรียนของแต่ละภาคเรียนในสัปดาห์แรกให้ผู้เรียนฝึกการคัดเขียนจากกระดาษที่ครูเตรียมการไว้ ฝึกปฏิบัติ
                                        3.  นำผลงานที่สำเร็จมาตรวจสอบ
ผลการวิจัย
                จากการแก้ปัญหาาการเขียนหนังสือไม่สวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5  โดยใช้วิธีการฝึกเขียน  จะเห็นได้ว่า  นักเรียนโดยภาพรวมเขียนหนังสือสวยขึ้น
ข้อเสนอแนะ
                ควรนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาการเรียนการสอนกับทุกวิชา
 ____________________________________________________________________
รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การปรับพฤติกรรมการแอบเล่นเกมส์ในเวลาเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7  โดยใช้การเสริมแรง











นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12

ชื่อเรื่อง                 การปรับพฤติกรรมการแอบเล่นเกมส์ในเวลาเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7                    โดยใช้การเสริมแรง
ชื่อผู้วิจัย                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
            ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 / 7  พบว่า  มีนักเรียนจำนวน 3 คนแอบนั่งเล่นเกมส์ในขณะที่ครูสอนและทุกครั้งที่มีโอกาส  จากการสังเกตพบว่าเด็กเหล่านี้ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  ผู้วิจัยจึงได้ตั้งกติกาว่า  หากนักเรียนสามารถทำงานตามที่มอบหมายได้สำเร็จก่อนเวลาที่ครูกำหนด  เวลาที่เหลือครูจะให้นักเรียนเล่นเกมส์โดยไม่ต้องแอบเล่น  และกล่าวคำชมเชยนักเรียนที่สามารถทำงานเสร็จ  ถูกต้อง  และเรียบร้อย  ก่อนที่จะให้เขาทำในสิ่งที่เขาชอบ  สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถทำงานได้เสร็จตามเวลาก็จะให้กำลังใจและพยายามให้เขาทำความเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนเพื่อจะได้ทำงานให้เสร็จตรงตามเวลาที่ครูกำหนด  ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมในการแอบเล่นเกมส์น้อยลง 
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย       
                เพื่อปรับพฤติกรรมการแอบเล่นเกมส์ในเวลาเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7  จำนวน  3 คน  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมในการแอบเล่นเกมส์น้อยลงและสามารถทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด 
                วิธีการดำเนินวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                        กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7  ภาคเรียนที่  1
  ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน คน
                เครื่องมือในการวิจัย
                        1.   ใบกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้
                                3.  แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                1.  จากการทำใบกิจกรรมในชั้นเรียน
                                2.  จากการประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน                 
ผลการวิจัย
                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7   ทั้ง 3 คน  มีพฤติกรรมในการแอบเล่นเกมส์น้อยลงและสามารถทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด 
ข้อเสนอแนะ
                ควรตั้งกติกาและวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดีเพื่อให้มีเวลาเหลือประมาณ นาที  ในการทำกิจกรรมที่นักเรียนชอบ
____________________________________________________________________

รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การปรับพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6
 ที่ชอบเล่นมากกว่าเรียนโดยวิธีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม











นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12


ชื่อเรื่อง                 การปรับพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6   ที่ชอบเล่นมากกว่าเรียนโดยวิธี                 การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ชื่อผู้วิจัย               นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
            จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค 22101)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องคำนวณ  นักเรียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย  ข้าพเจ้าได้สังเกตการเรียนการสอน  พบว่า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6  ชอบเล่นมากกว่าเรียนการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองเนื่องจากนักเรียนไม่สนใจความรู้ในเชิงวิชาการชอบเล่นมากกว่าเรียน  จึงได้ให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์และเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ  จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  และนำความรู้ที่ได้มานำเสนอให้เพื่อนฟัง 
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย       
       เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6 
 โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
วิธีการดำเนินวิจัย
               กลุ่มเป้าหมาย
                           กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6   ภาคเรียนที่  1
ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  26  คน
               เครื่องมือในการวิจัย
                                  1.  รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย
                            2.  แบบบันทึกคะแนน
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
               1.  ครูออกแบบวิธีการค้นคว้า โดยให้ค้นคว้าเรื่องหรือสิ่งที่ตนเองสนใจ อยากรู้ อยากเห็นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจและเรื่องที่เป็นสาระในบทเรียน
                2.  นำสิ่งที่ตนเองค้นคว้าได้มารายงาน ให้ครู เพื่อนนักเรียนทราบ
                3.  ครูกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน เช่น ค้นได้ 1 เรื่อง นำมาเสนอผ่านจะได้ 5 คะแนน แต่ในหนึ่งภาคเรียนต้องทำส่งไม่เกิน 10 เรื่อง นำคะแนนที่ได้ไปประเมินตามสภาพจริงร่วมกับวิธีอื่น
 ผลการวิจัย
ผลจากการจัดการเรียนรู้โดยการให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  จะพบว่า
    1.       นักเรียนรู้จักการใช้ห้องสมุด ใช้เวลาว่างไปค้นคว้าหาข้อมูลที่เกิดจากความสนใจ สงสัยของนักเรียนเอง
    2.       ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ครูและผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
    3.       สนองต่อการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปสู่ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ข้อเสนอแนะ
     1.       การศึกษาวิธีนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรักการค้นคว้าเห็นคุณค่า
       2.               ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการต่างๆ แทนที่จะรับจากครูฝ่ายเดียว
      3.      ไม่มีวิธีการค้นคว้าหาความรู้วิธีใดดีที่สุด ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องควรส่งเสริมหลายๆ วิธี
_______________________________________________________________ 


รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  แผนภูมิรูปวงกลม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยใช้แบบฝึกทักษะ











นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12


ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  แผนภูมิรูปวงกลม   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                  โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ชื่อผู้วิจัย             นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 (ค 22101)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 ,  2/6 และ 2/7   ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องคำนวณ  นักเรียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย  รวมถึงการที่นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  และที่สำคัญคือในด้านตัวผู้สอนเอง  ยังขาดความรู้ในการพัฒนาวิธีสอนให้มีความหลากหลาย  ซึ่งปัจจัยที่กล่าวข้างต้น  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ  จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  พบว่า  วิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  เป็นวิธีการแก้ปัญหาการเรียนการสอน  เรื่อง  แผนภูมิรูปวงกลม     ของนักเรียนได้มากกว่าวิธีอื่นๆ  ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ผู้วิจัยจึงได้นำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ   มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน 
 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
         
      เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง  แผนภูมิรูปวงกลม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 ,  2/6 และ 2/7  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  และมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  
วิธีดำเนินการวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5,  2/6 ,  2/7  ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  80  คน
                      เครื่องมือในการวิจัย
                                             1.  แผนการจัดการเรียนรู้
                                             2.  แบบฝึกทักษะ
                                            3.  แบบสอบถาม
                                            4.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง  แผนภูมิรูปวงกลม
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                1.  การสัมภาษณ์  โดยการสัมภาษณ์นักเรียนรายบุคคลและเป็นกลุ่ม  แต่ละครั้งท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
                                2.  การบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงตามที่เห็นในแต่ละครั้ง
                                3.  การบันทึกหลังสอนโดยผู้วิจัย
                                4.  การบันทึกคะแนนจากแบบฝึกทักษะและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน
ผลการวิจัย
                นักเรียนมีพัฒนา
การเรียนรู้ที่ดีขึ้นเมื่อได้เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง  แผนภูมิรูปวงกลม  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  และมีผลการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ  เนื่องจากมีนักเรียนที่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
              1. ครูผู้สอนจะต้องคอยติดตามดูแล  การทำแบบฝึกทักษะของนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
              2. ควรให้นักเรียนประเมินตนเอง  ว่ามีพัฒนาการเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

______________________________________________________________________ 


รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  การแปลงทางเรขาคณิต
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6  โดยใช้สื่อการสอน










นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12


ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  การแปลงทางเรขาคณิต   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6                                     โดยใช้สื่อการสอน
ชื่อผู้วิจัย             นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
การสอนคณิตศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับเรขาคณิตนั้นเป็นเรื่องยาก  จะต้องมีการวาดภาพประกอบการสอนอยู่ทุกครั้ง  จึงเป็นปัญหามากสำหรับผู้ที่วาดรูปไม่เก่ง  เพราะจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนยากขึ้น  สำหรับในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  นั้นมีเรื่องเกี่ยวกับเรขาคณิต  คือ  การแปลงทางเรขาคณิต  ซึ่งในเนื้อหาแล้วจะต้องอาศัยการวาดภาพเป็นอย่างมาก  สำหรับข้าพเจ้าเองนั้นวาดภาพไม่ค่อยเก่งประกอบกับภาพแต่ละภาพจะใช้เวลาในการวาดค่อนข้างมากจึงทำให้เสียเวลาในการเรียน   ดังนั้นเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ข้าพเจ้าจึงได้มีการจัดทำสื่อการสอนขึ้น  โดยนำโปรแกรม  GSP                  มาช่วยในการสร้างสื่อการสอนเรื่อง  “ การแปลงทางเรขาคณิต ”  เพื่อใช้ประกอบการสอนให้ผู้เรียนได้มีการเรียนที่ดีขึ้น  และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น 
 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
         
      เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง  การแปลงทางเรขาคณิต  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6  โดยใช้สื่อการสอน  และมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  
วิธีดำเนินการวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6  ภาคเรียนที่  1                               ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  26  คน
                         เครื่องมือในการวิจัย
                                   1.  แผนการจัดการเรียนรู้
                                  2.  สื่อการสอนเรื่อง  การแปลงทางเรขาคณิต
                                   3.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง  การแปลงทางเรขาคณิต
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                1.  การสัมภาษณ์  โดยการสัมภาษณ์นักเรียนรายบุคคลและเป็นกลุ่ม  แต่ละครั้งท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
                                2.  การบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงตามที่เห็นในแต่ละครั้ง
                                3.  การบันทึกหลังสอนโดยผู้วิจัย
                                4.  การบันทึกคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลการวิจัย
                นักเรียนมีพัฒนา
การเรียนรู้ที่ดีขึ้นเมื่อได้เรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนและมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง  การแปลงทางเรขาคณิต  โดยใช้สื่อการสอน  และมีผลการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ  เนื่องจากมีนักเรียนที่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
              1. ครูผู้สอนจะต้องคอยติดตามดูแล  การทำแบบฝึกทักษะของนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
              2. ควรให้นักเรียนประเมินตนเอง  ว่ามีพัฒนาการเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่
 ______________________________________________________________________________




รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ
เนื่องจากขาดความมีน้ำใจในการเรียน  โดยวิธีการจับคู่กันเรียน









นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12




ชื่อเรื่อง                 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ  เนื่องจากขาดความมีน้ำใจ  ในการเรียน  โดยวิธีการจับคู่กันเรียน
ชื่อผู้วิจัย               นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
            จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน(ค22101)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7  จำนวนนักเรียน  26  คน  จากการสังเกตการทำงานของนักเรียนพบว่าเด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ   
มีพฤติกรรมขาดความมีน้ำใจในการทำงาน  จึงมอบหมายให้เด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ  เป็นพี่เลี้ยงของสมาชิกในชั้นเรียน  คน  คือ  เด็กชายสมชาย  รินรส  ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อน  ขาดความรับผิดชอบ
ความกระตือรือร้นในการเรียน  โดยให้เด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ  เป็นพี่เลี้ยง  คอยให้คำแนะนำในการเรียนคอยช่วยเหลือ  ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ  เป็นคนมีน้ำใจมากยิ่งขึ้น  และคอยช่วยเหลือเพื่อนในห้องเรียน
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย   
                เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขาความมีน้ำใจของเด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ   และมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ  เป็นคนมีน้ำใจมากยิ่งขึ้น  และคอยช่วยเหลือเพื่อนในห้องเรียน
วิธีการดำเนินวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  เด็กชายธีรภัทร  แทนชนะ   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7   ภาคเรียนที่  ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 
                เครื่องมือในการวิจัย
                                1.  รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย
                                2.  แบบบันทึกคะแนน
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                1. ยกย่อง ชมเชย เมื่อแสดงพฤติกรรมดี ทั้งต่อหน้า ลับหลัง ส่วนรวม เช่น หน้าเสาธง  ที่ประชุมครู ที่ประชุมนักเรียน และผู้ปกครอง
                                2.  สังเกตพฤติกรรม สัมภาษณ์ สอบถาม เพื่อน ผู้ปกครอง ชุมชน ครูในโรงเรียน หากแสดงพฤติกรรมนอกสิ่งที่จะพัฒนาเสนอแนะเป็นการส่วนตัว
3.  พัฒนาคุณธรรมด้านอื่นหลายๆ ด้าน เช่น ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความขยัน ความกตัญญู และคุณธรรมอื่นๆ
                                4.  มอบหมายให้เป็นต้นแบบขยายผล ร่วมสอดส่องปลุกจิตสำนึกสู่เพื่อนอื่น
                                5.  ให้ความหวัง ความรัก ความมั่นใจ ผลสำเร็จในอนาคตของการทำความดี

ผลการวิจัย
                1.   นักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้งอยู่ที่โรงเรียน บ้าน และสถานที่ทั่วไป
                2.  นักเรียนอื่นได้รูปแบบ ผลของการมีน้ำใจ เป็นผลให้นักเรียนอื่นนำไปปฏิบัติ
                3.  สร้างความมั่นใจต่อผู้ปกครอง  นักเรียนอื่นต่อผลการทำความดี
ข้อเสนอแนะ
                1.  ควรส่งเสริมการแสดงออกของนักเรียนที่มีพฤติกรรมดีด้วยวิธีการต่างๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
              2.  การจัดการเรียนการสอนควรแก้ปัญหา  พัฒนาทุกเรื่อง  จึงจะได้ชื่อว่า  เป็นครูนักวิจัย
____________________________________________________________________

รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กชายธีรภาพ  ทิมกลับ
โดยใช้วิธีการสอนซ่อมเสริม








นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี












โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12




ชื่อเรื่อง                 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กชายธีรภาพ  ทิมกลับ  โดยใช้วิธีการสอน                                       ซ่อมเสริม
ชื่อผู้วิจัย                            นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
            จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน(ค22101)  ชั้นมัธยมศึกษา               ปีที่  2/7  พบว่าเด็กชายธีรภาพ  ทิมกลับ  มีผลคะแนนจากการสอบต่ำกว่าเกณฑ์ทุกครั้ง  แต่เนื่องจากนักเรียนคนนี้มีความตั้งใจเรียน  ชอบช่วยเหลือเพื่อนในห้อง  และเมื่อมีเนื้อหาตรงไหนที่ครูสอนแล้วไม่เข้าใจ  นักเรียนคนนี้จะมาถามครูทุกครั้ง  จึงได้ให้นักเรียนมาเรียนซ่อมเสริมในทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ในคาบพักเที่ยง  เพื่อต้องการดูพัฒนาการด้านการเรียนว่าดีขึ้นหรือไม่  หลังจากที่ครูสอนซ่อมเสริมไป   
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย   
                เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กชายธีรภาพ  ทิมกลับ  และมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กชาย             ธีรภาพ  ทิมกลับ  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นและสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนได้
วิธีการดำเนินวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  เด็กชายธีรภาพ  ทิมกลับ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     
ปีที่  2/7   ภาคเรียนที่  ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช 
                เครื่องมือในการวิจัย
                                1.  รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย
                                2.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
                                3.  แบบบันทึกคะแนน
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                        1.  สังเกตจากการทำแบบฝึกหัดว่าทำได้หรือไม่
                                2.  บันทึกคะแนนจากแบบฝึกหัด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัย
                นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น  และสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนได้
ข้อเสนอแนะ
                1.  ในการสอนซ่อมเสริมนั้นต้องคอยกระตุ้นให้นักเรียนเห็นว่า  เนื้อหาที่สอนนั้นไม่ยาก  เพื่อทำให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
              2.  ควรสอนซ่อมเสริมเป็นรายกลุ่มเพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน

____________________________________________________________________

ภาคเรียนที่ 2

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้



รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  เส้นขนาน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยใช้แบบฝึกทักษะ




นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี




โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  เส้นขนาน   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                                               โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ชื่อผู้วิจัย             นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
                จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 (ค 22102)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 ,  2/6 และ 2/7   ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องคำนวณ  นักเรียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย  รวมถึงการที่นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  และที่สำคัญคือในด้านตัวผู้สอนเอง  ยังขาดความรู้ในการพัฒนาวิธีสอนให้มีความหลากหลาย  ซึ่งปัจจัยที่กล่าวข้างต้น  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ  จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  พบว่า  วิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  เป็นวิธีการแก้ปัญหาการเรียนการสอน  เรื่อง  เส้นขนาน    ของนักเรียนได้มากกว่าวิธีอื่นๆ  ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ผู้วิจัยจึงได้นำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ   มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน 
 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
         
    เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง  เส้นขนาน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 ,  2/6 และ 2/7  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  และมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  
วิธีดำเนินการวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5,  2/6 ,  2/7  ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  67  คน
                เครื่องมือในการวิจัย
                       1.  แผนการจัดการเรียนรู้
                       2.  แบบฝึกทักษะ
                       3.  แบบสอบถาม
                       4.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง  เส้นขนาน
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                1.  การสัมภาษณ์  โดยการสัมภาษณ์นักเรียนรายบุคคลและเป็นกลุ่ม 
                                     แต่ละครั้งท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
                                2.  การบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงตามที่เห็นในแต่ละครั้ง
                                3.  การบันทึกหลังสอนโดยผู้วิจัย
                                4.  การบันทึกคะแนนจากแบบฝึกทักษะ  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัย
                นักเรียนมีพัฒนา
การเรียนรู้ที่ดีขึ้นเมื่อได้เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง  เส้นขนาน  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  และมีผลการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ  เนื่องจากมีนักเรียนที่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
              1. ครูผู้สอนจะต้องคอยติดตามดูแล  การทำแบบฝึกทักษะของนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
              2. ควรให้นักเรียนประเมินตนเอง  ว่ามีพัฒนาการเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่
_______________________________________________________


รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6





นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี




โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12
ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน   ของนักเรียนชั้น                     
                            มัธยมศึกษาปีที่  2/
ชื่อผู้วิจัย             นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
ความเป็นมาของการวิจัย
                จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4  (ค 22102)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องคำนวณ  นักเรียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย  ข้าพเจ้าได้สังเกตการเรียนการสอน  พบว่า   จากการที่ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนในชั้นเรียน   หลังจากการสอนครูได้ประเมินผล  โดยการมอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด ใบกิจกรรม  และแบบทดสอบ  พบว่านักเรียนบางคนไม่สามารถทำแบบฝึกหัด  ทำใบกิจกรรม  และทำข้อสอบได้ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด  ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น  เกิดจากการที่นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า  และมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน  ข้าพเจ้าจึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจ  และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น   กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น  เป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนวิธีการดังกล่าวได้ทางหนึ่ง  โดยให้เพื่อนได้มีบทบาทสำคัญในการเรียน  เพื่อนและกลุ่มมีอิทธิพลในการสร้างความสนใจ  จูงใจ  และการยอมรับของเพื่อนด้วยกัน   ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน  จะใช้วิธีเฟ้นหาเพื่อนที่เก่งช่วยเพื่อนที่เรียนอ่อนทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น  โดยกำหนดให้มีนักเรียนที่เก่งเป็นแกนนำของกลุ่ม  คอยช่วยเหลือ  แนะนำ  
 อธิบายหัวข้อต่างๆ  ที่เพื่อนในกลุ่มไม่เข้าใจ  คอยติดตามช่วยเหลือจนเข้าใจในเรื่องนั้นๆ  ความสนิทสนม  และใกล้ชิดของกลุ่มทำให้ผู้มีปัญหามีความรู้สึกเกิดการยอมรับ  อยากพัฒนาเอง  จนส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น
 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
          เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6   
โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  
วิธีดำเนินการวิจัย
                กลุ่มเป้าหมาย
                       กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555โรงเรียนทุ่งสงวิทยา   อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  25  คน
                เครื่องมือในการวิจัย
                       1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
                       2. แบบบันทึกคะแนน
                       3. สมุดแบบฝึกหัดและใบกิจกรรมของนักเรียน               
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                      1. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะเฟ้นหานักเรียนที่เก่ง  และมีความรับผิดชอบ  มีลักษณะเป็นผู้นำมอบหมายให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม
                      2. ครูผู้สอนชี้แจงการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยหลังจากครูสอนในแต่ละครั้งก็จะมอบหมายให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด  โดยนักเรียนนั่งทำแบบฝึกหัดระดมสมองช่วยกันคิด  หากหัวข้อใดสมาชิกในกลุ่มไม่เข้าใจ ผู้ที่เข้าใจก็จะช่วยกันอธิบายจนเพื่อนเข้าใจ  หากสมาชิกในกลุ่มยังไม่เข้าใจก็จะปรึกษาครูผู้สอน
                     3. ครูสังเกตการทำกิจกรรมของกลุ่ม  การช่วยกันแก้ปัญหา  ความสนใจ  และความตั้งใจของสมาชิกในกลุ่ม
                     4. สังเกตผลการทำแบบฝึกหัดว่าดีขึ้นหรือไม่
                     5. สังเกตการประเมินตามสภาพจริงในแต่ละครั้ง
                     6. วัดผลการเรียนเมื่อสิ้นบทเรียน
ผลการวิจัย
            ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4  (ค 22102)   ปรากฎว่า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน  และกิจกรรมกลุ่มทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี ช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นสนใจ  ตั้งใจ  และมีความรับผิดชอบมากขึ้น  อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา  ช่วยสร้างความสามัคคี  รู้จักแก้ปัญหาร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ
              1. ครูผู้สอนจะต้องคอยติดตามดูแล การปฏิบัติงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 
              2. ควรเฟ้นหาหัวหน้ากลุ่มที่เก่ง  และมีคุณภาพจริงๆ
              3. ครูผู้สอนจะต้องคอยให้แรงเสริมแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง
             4. ครูผู้สอนควรแจ้งผลการประเมินทุกครั้งเพื่อกลุ่มจะได้ปรับปรุงและพัฒนาตัวเองในจุดที่ยัง
ด้อยอยู่













รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
   การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงาน
โดยการใช้สมุดสะสมคะแนนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2




นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี





โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12
ชื่อเรื่อง                 การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงานโดยการใช้สมุดสะสมคะแนนของ
                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
ชื่อผู้วิจัย        นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี      
ความเป็นมาของการวิจัย
            จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค 22102)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้  คือ  นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ส่งงาน  แบบฝึกหัด  และใบกิจกรรม  แม้ว่าจะอธิบายถึงผลของการไม่ส่งงาน  ซึ่งการทีครูทำโทษนักเรียนนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี  จะส่งผลให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อครูผู้สอน  และต่อวิชาคณิตศาสตร์  จึงคิดหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการใช้สมุดสะสมคะแนน  คือ  เมื่อให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือใบกิจกรรม    ถ้านักเรียนคนใดนำมาส่งก็จะบันทึกคะแนนให้ครั้งละ  คะแนน  นักเรียนก็จะมีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น  นักเรียนคนที่ไม่ค่อยทำส่งก็จะทำส่งเพื่อให้ตนเองได้มีคะแนนเหมือนกับเพื่อน  จึงทำให้นักเรียนส่งงานมากขึ้น  และส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงานโดยการใช้สมุดสะสมคะแนนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
วิธีการดำเนินวิจัย
        กลุ่มเป้าหมาย
                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/5,  2/6 ,  2/7  ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  67  คน
        เครื่องมือในการวิจัย
                                        1.   แบบฝึกหัด  ใบกิจกรรม
                                        2.   แบบบันทึกคะแนน   (สมุดสะสมคะแนน)
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
        1.  ตั้งกติกาการส่งงานกับนักเรียน
        2.  สังเกตการณ์ส่งงานของนักเรียน 
        3.  บันทึกคะแนนจากการส่งงาน
        4.  ประเมินผลตามสภาพจริง
ผลการวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีความกระตือรือร้นในการส่งงานมากขึ้น  ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
                        1.  ควรนำไปปรับใช้กับทุกรายวิชา
                        2.  ควรหาวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น
                        3.  ควรสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
                        4.  หาแบบฝึกทักษะและใบกิจกรรมที่หลากหลายให้นักเรียนทำ




รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
        การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้การสอนแบบโครงงาน                                                      เรื่อง “ทฤษฎีบทพีทาโกรัส”   
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6




นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี





โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12
 
ชื่อเรื่อง                 การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงานเรื่อง “ทฤษฎีบทพีทาโกรัส”
                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/
ชื่อผู้วิจัย        นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี      
ความเป็นมาของการวิจัย
            จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค 22102)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6  ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้  คือ  นักเรียนส่วนใหญ่จะขาดทักษะด้านกระบวนการคิดวิเคราะห์  เมื่อครูถามคำถามนักเรียนจะไม่ค่อยตอบ  และไม่กล้าตอบ   จึงได้คิดแก้ปัญหานี้โดยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน ซึ่งการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน ได้แก่  กระบวนการกลุ่ม  การฝึกคิด   การแก้ปัญหา  การเน้นกระบวนการ  และการสอนแบบร่วมกันคิด  ทั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจอยากรู้อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่งความรู้เบื้องต้น  ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนได้มาไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา  แต่ผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้และปรับปรุงความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์  และยังทำให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น  ในการตอบคำถาม
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
                เพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงานเรื่อง  “ทฤษฎีบทพีทาโกรัส”  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา    ปีที่ 2/และมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกมากขึ้น
วิธีการดำเนินวิจัย
        กลุ่มเป้าหมาย
                                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/6   ภาคเรียนที่  2                             
 ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  25  คน
        เครื่องมือในการวิจัย

                1แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
                       2.  แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียน
                       3.  แบบฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์
               
                การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.  ให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดหัวข้อของโครงงาน  ตามความสนใจของนักเรียนทั้งกลุ่ม  เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส
               
               2.  ให้นักเรียนผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา  ตั้งสมมุติฐานและลงมือทดสอบสมมุติฐานหรือการออกไปศึกษาความรู้เพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้  ตามประเด็นคำถามภายใต้หัวข้อโครงงาน                        3.  ให้นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้เขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็กๆ
                4.  ให้นักเรียนนำเสนอโครงงานเพื่อแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน  และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการทำงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
                                5.  สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนหลังจากที่นักเรียนได้ทำโครงงาน 
                                6.  บันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงตามที่เห็นในแต่ละครั้ง  เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียน
ผลการวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น  เมื่อครูถามคำถามก็กล้าตอบ  นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถทำแบบฝึกหัดหรือใบกิจกรรมได้ดีขึ้น  ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นด้วย
ข้อเสนอแนะ
                        1.  ควรนำไปปรับใช้กับทุกรายวิชา
                        2.  ควรหาวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น
                        3.  ควรสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง








บทที่  1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
  สังคมโลกในสหัสวรรษใหม่มีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากอันเป็นผลจากการที่ในแต่ละประเทศต่างก็มีจุดพัฒนาตนเองให้มีความเจริญ  และก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมาก  ดังนั้นรัฐบาล  หน่วยงาน  และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจำเป็นต้องจัดการปฏิรูปการศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปัจจุบัน  เพื่อให้ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและมีความสามารถที่หลากหลาย  การศึกษาในฐานะที่เป็นกระบวนการในการพัฒนามนุษย์ให้ฉลาดและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  จึงต้องมีการปรับปรุงให้เอื้อและส่งเสริมต่อเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด  เพื่อให้มีผลการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าไปอย่างเยี่ยมและก้าวหน้าไปบนเส้นทางที่คาดหวังไว้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2544 : 1–2)
  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ  โดยกำหนดจุดมุ่งหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย  และกรอบทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา  มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก  ส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษา  โดยได้กำหนดให้คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ทุกคนต้องได้เรียนเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และยังเป็นพื้นฐานในการศึกษาสิ่งต่างๆ ต่อไป  เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการแก้ปัญหาสั่งสมประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับการแก้ปัญหา  ตามระดับความสามารถของแต่ละคน  โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จึงเปรียบเสมือนสื่อหรือเป็นเครื่องมือในการฝึกให้นักเรียนมีทักษะที่จะสามารถคิดแก้ปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์แล้วนำความสามารถที่เกิดขึ้นถ่ายโยงไปสู่ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์ได้

 คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อปวงชนที่เปิดโอกาสให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตามศักยภาพ  เพราะเป็นสาระการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะการคิด  เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน  และมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์  ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์  คิดอย่างมีเหตุผล  เป็นระบบระเบียบ  สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ  ทำให้สามารถคาดการณ์วางแผน  ตัดสินใจ  และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2545 : 2)เป็นศาสตร์แห่งการคิดเป็นเครื่องมือต่อการพัฒนาศักยภาพของสมอง  จุดเน้นของการเรียนการสอนจึงต้องปรับเปลี่ยน  จากการเน้นให้จดจำข้อมูลทักษะพื้นฐานที่เพียงพอในการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ ผู้เรียนจะต้องได้รับประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลายที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจจากการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง  ยังเป็นการพัฒนาความสามารถและกระบวนการในการแก้ปัญหาแล้วยังช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการให้เหตุผล  ความสามารถในการสื่อสาร  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (วรณัน ขันศรี. 2546 : 74 – 77)  นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นวิชาที่สำคัญวิชาหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพของคน  เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นหนึ่งในวิชากลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้คือเป็นวิชาที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ในกลุ่มประสบการณ์อื่นและการเรียนรู้ในระดับสูงเป็นวิชาที่ช่วยพัฒนาคนให้รู้จักคิด  และคิดเป็น  ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอื่นๆ (วรสุดา  บุญยไวโรจน์. 2532 : 36)  การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ครูผู้สอนควรคำนึงถึงให้มาก  และคิดพัฒนาเพื่อให้การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
   หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  แบ่งหน่วยการเรียนรู้ออกเป็น  หน่วยการเรียนรู้  คือ  หน่วยการเรียนรู้ที่  อัตราส่วนและร้อยละ  หน่วยการเรียนรู้ที่  การวัด  หน่วยการเรียนรู้ที่   แผนภูมิรูปวงกลม  หน่วยการเรียนรู้ที่  การแปลงทางเรขาคณิต  หน่วยการเรียนรู้ที่  ความเท่ากันทุกประการ  หน่วยการเรียนรู้ที่  ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  หน่วยการเรียนรู้ที่  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง  หน่วยการเรียนรู้ที่  การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  และหน่วยการเรียนรู้ที่  เส้นขนาน  จากรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทุ่งสงวิทยา  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ปีการศึกษา  2552  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  อยู่ในระดับดี  คิดเป็นร้อยละ  63.87         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ อยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ  49.37  และผลการเรียนปีการศึกษา  2553         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  อยู่ในระดับดี  คิดเป็นร้อยละ  61.23  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ อยู่ในระดับดี     คิดเป็นร้อยละ  52.80 จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของ  สมศ.  รอบที่ ตัวบ่งชี้ที่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  คิดเป็นร้อยละ  0.34  อยู่ในระดับต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน  และจากรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O – Net)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ช่วงชั้นที่  3(ม. 3)  ปีการศึกษา  2552  และ  2553  ในระดับโรงเรียน  มีคะแนนเฉลี่ย  23.26  และ  20.78  ระดับจังหวัด  มีคะแนนเฉลี่ย  25.23  และ  23.45  ระดับสังกัด  มีคะแนนเฉลี่ย  25.98  และ  24.22  และระดับประเทศ        มีคะแนนเฉลี่ย  26.05  และ  24.18 
  หน่วยการเรียนรู้ที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุด / มีปัญหาในการเรียนรู้มากที่สุด  หรือนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การวัด / ประเมินผลมากที่สุด  คือ  หน่วยการเรียนรู้ที่                 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  มีตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้  คือ  ตัวชี้วัด  ค 3.2  2/2  ใช้ทฤษฎีบท               พีทาโกรัสและบทกลับในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา  โดยมีสาระการเรียนรู้คือ  ทฤษฎีบท               พีทาโกรัส  บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส   และการนำไปใช้  ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนรู้ / ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ดังนี้  ขั้นนำ  ทบทวนความรู้เรื่อง  ทฤษฎีบทพีทาโกรัสที่นักเรียนได้เรียนไปในชั่วโมงที่แล้วและให้นักเรียนช่วยกันเฉลยใบกิจกรรม  ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้                   อธิบายเกี่ยวกับการหาความยาวของด้านใดด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก  เมื่อทราบความยาวของด้านอีกสองด้านของรูปสามเหลี่ยมนั้นโดยใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  และให้นักเรียนทำ              ใบกิจกรรมและร่วมกันเฉลยใบกิจกรรม  ขั้นสรุป  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปวิธีการหาความยาวของด้านใดด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เมื่อกำหนดความยาวของด้านสองด้านมาให้    โดยมีหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์  ม.เล่ม และใบงาน  เป็นสื่อในการจัดการเรียนเรียนรู้  มีวิธีการวัดผลประเมินผล  จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน  การตอบคำถาม  การร่วมกิจกรรม  และการทำแบบฝึกหัด  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล  คือ  แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน  แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์  โดยมีการประเมินผล  ดังนี้  ผ่านเกณฑ์การประเมินแบบฝึกหัด  ใบงานหรือใบกิจกรรมร้อยละ  50  ขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์การประเมินระหว่างเรียน  โดยมีนักเรียนจำนวน  172  คน  มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน  52  คน  คิดเป็นร้อยละ  30  ของนักเรียนทั้งหมด  ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์  คือ  ร้อยละ  61.23  จากเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ  75
  สาเหตุที่การเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเนื่องมาจากในส่วนของผู้เรียน  มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  ไม่ทำแบบฝึกหัด  ผู้เรียนเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว  และนักเรียนเลือกวิธีจำมากกว่าการทำความเข้าใจในเนื้อหา  ในส่วนของผู้สอนเองยังอธิบายเนื้อหาไม่เข้าใจ  สอนเร็วเกินไป  สอนด้วยวิธีการเดิม  ขาดความรู้  ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  ไม่มีกิจกรรมเสริม นอกจากนี้ยังขาดสื่อการเรียนการสอน  และสื่อเสริมเพื่อพัฒนาการให้เหตุผลของผู้เรียน  เพื่อที่จะให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน  เป็นวิธีหนึ่งที่ตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียน โครงงานคือ  การวิจัยเล็กๆ  สำหรับนักเรียนเป็นการแก้ปัญหาหรือตอบข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามรายวิชาใด  จะเรียกโครงงานตามรายวิชานั้นๆ  ครูต้องระลึกเสมอว่า การจัดกิจกรรมโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งด้วยตนเองโดยมีครูให้ความช่วยเหลือสนับสนุน  อำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ  ให้นักเรียนได้ขยายความรู้พื้นฐานไปสู่ความรู้ใหม่และนำไปใช้ได้จริง  โครงงานแบ่งออกเป็นโครงงานตามสาระการเรียนรู้เป็นโครงงานที่นักเรียนตีกรอบการทำงานภายใต้จุดประสงค์การเรียนรู้ในเนื้อหาแต่ละวิชาที่กำหนดขึ้นเองหรือกำหนดโดยหลักสูตรและโครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่นักเรียนสนใจจากเรื่องที่เป็นปัญหาจากการเรียนแล้วนำปัญหานั้นมาหาคำตอบโดยการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน  (กรมวิชาการ. 2549 : 6)
                ผู้ศึกษาค้นคว้าเห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ดีขึ้น  โดยการพัฒนา
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ซึ่งการจัดกิจกรรม                การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน  นักเรียนจะเกิดประสบการณ์ตรง  เรียนรู้การแก้ปัญหา  การทำงานอย่างมีระบบขั้นตอน  รู้จักการวางแผนการทำงาน  ฝึกการเป็นผู้นำ  ฝึกการคิดวิเคราะห์  การตัดสินใจ  และการประเมินตนเอง  จากเหตุผลดังกล่าว  ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจการพัฒนาแผนการจัด                 การเรียนรู้แบบโครงงาน   เรื่อง  ทฤษฎีบทพีทาโกรัส   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  โรงเรียน             ทุ่งสงวิทยา  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75  และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ทฤษฎีบทพีทาโกรัสว่าสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่  อย่างไร  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย       
1.       เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยโครงงานวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง  ทฤษฎีบท                พีทาโกรัส  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75 
2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน  หน่วยการเรียนรู้  ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

สมมติฐานของการวิจัย
                  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน  หน่วยการเรียนรู้  ทฤษฎีบท               พีทาโกรัสหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ทฤษฎีบท              พีทาโกรัสสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
        ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
       ประชากรที่ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภาคเรียนที่  ปีการศึกษา  2555  จำนวน  ห้องเรียน  รวมนักเรียนทั้งหมด  192  คน

                      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภาคเรียนที่  ปีการศึกษา  2555  ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  จำนวน  ห้องเรียน  
                   ตัวแปรที่ศึกษา
1.             ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง                                     ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
2.             ตัวแปรตาม  ได้แก่  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  หน่วยการเรียนรู้                                                     ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
                  เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
                  เนื้อหาที่ใช้ในการทดลองเป็นเนื้อหาในรายวิชาคณิตศาสตร์ (ค 22102)  หน่วยการเรียนรู้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ตามหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนทุ่งสงวิทยา

                  ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
                 แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  ที่มีประสิทธิภาพสำหรับครูนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อแก้ไข  ปรับปรุง  และพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  และเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์  ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาคณิตศาสตร์  ในเนื้อหาต่างๆ หรือในระดับชั้นอื่นๆ  ต่อไป




นิยามศัพท์เฉพาะ
                 1.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน  หมายถึง  กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นคว้า
สร้างขึ้น  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า  และลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
ความถนัดและความสามารถของตนเอง  ซึ่งอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นๆ  ที่เป็นระบบไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ  ประกอบด้วย  5  ขั้นตอน  ดังนี้
                      1.1  การเลือกโครงงาน  เป็นขั้นที่ครูผู้สอนจัดกิจกรรมต่างๆ  ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาและเลือกหัวข้อที่สนใจ  ยั่วยุให้เกิดความสนใจ  อยากรู้อยากเห็น  นำข้อสงสัยมากำหนดเป็นหัวข้อของโครงงาน
                      1.2  การวางแผนโครงงาน  เป็นขั้นที่มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เกี่ยวกับหัวข้อโครงงานที่ผู้เรียนเลือกศึกษาหรือกำหนดวัตถุประสงค์  กำหนดกิจกรรม  ระยะเวลา
ดำเนินการ  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ  หรือการฝึกทักษะที่จำเป็นในการทำโครงงาน
เพิ่มเติมกับผู้เรียน
                      1.3  การปฏิบัติ เป็นขั้นผู้เรียนดำเนินการตามแผนที่วางไว้  โดยครูดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำหรือช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ  ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมโครงงานได้สำเร็จ
                      1.4  การประเมินผล  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานโครงงาน  เพื่อสรุป
ผลงานการปฏิบัติงานว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ผู้เรียนได้รับประโยชน์อะไรจากการทำ
โครงงานมีปัญหาอุปสรรคและแนวทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
                      1.5  การเสนอโครงงาน เน้นการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงานในรูปแบบต่างๆ
ตามลักษณะของงาน  ซึ่งอาจจะมีการนำเสนอในชั้นเรียนหรือภายนอกชั้นเรียน  ในโอกาสต่างๆ
ตามความเหมาะสม  เช่น  การรายงานด้วยเอกสาร  การเล่าสู่กันฟัง  การนำเสนอในที่ประชุม
การจัดนิทรรศการ  ฯลฯ
                 2.  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน  หมายถึง  แนวทางการจัดกิจกรรม
การเรียนแบบโครงงานที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ  ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะพื้นฐานการเรียนรู้
รู้จักแสวงหาการเรียนรู้ที่หลากหลาย  มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ตลอดจนคิดอย่างมีระบบ
กล้าตัดสินใจ  และสามารถเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผล
                 3. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน หมายถึง คุณภาพของแผน
การจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75 ดังนี้
                      75  ตัวแรก  หมายถึง  ร้อยละ  75  ขึ้นไปของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จาก
การประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน  ใบงาน  และแบบทดสอบย่อยท้ายแผน
                      75  ตัวหลัง  หมายถึง  ร้อยละ 75  ขึ้นไปของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จาก
การทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน            
                 4.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  หน่วยการเรียนรู้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  หมายถึง  ความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ในการเรียนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรม     การเรียนรู้โดยโครงงานวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ทฤษฎีบทพีทาโกรัส  ซึ่งพิจารณาได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  โดยแบบทดสอบที่ใช้เป็นแบบปรนัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น